ทฤษฎีรูหนอนหรือเวิร์มโฮล (Wormhole)

ทฤษฎีรูหนอนหรือเวิร์มโฮล (Wormhole) สามารถใช้เพื่อเดินทางข้ามเวลาได้อย่างไร




 ไบรอัน กรีน (Brain Greene) ศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบียและเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งงานเทศกาลทางวิทยาศาสตร์ระดับโลก(World Science Festival) กล่าวว่า “มันมีความเป็นไปได้ที่เราจะใช้รูหนอนในการเดินทางข้ามเวลา ซึ่งคาดการณ์ว่าน่าจะมีรูปของการข้ามเวลาอยู่ด้วยกัน 2แบบ
แบบแรกคือการเดินทางข้ามเวลาไปสู่อนาคต แล้วมันเป็นไปได้หรือไม่? ไอน์สไตน์ได้อธิบายให้เราเห็นถึงความเป็นไปได้ในทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป (Theory of Relativity) ไอน์สไตน์กล่าวว่า ถ้าเราสวมนาฬิกาแล้วเดินทางออกนอกโลกด้วยความเร็วที่ใกล้เคียงกับความเร็วแสงและกลับมายังโลก เวลาบนหน้าปัดนาฬิกาของเราจะเดินช้ากว่านาฬิกาบนโลก ดังนั้นเมื่อกลับมามันเป็นเหมือนการได้เดินทางไปสู่อนาคตแบบหนึ่ง หรือถ้าเราอยู่ใกล้กับแหล่งที่มีแรงโน้มถ่วงสูงเช่น ดาวนิวตรอน (neutron star) ซึ่งเป็นดาวขนาดเล็กและมีความหนาแน่นมากที่เกิดจากซุปเปอร์โนวา หรือบริเวณใกล้กับขอบของหลุมดำ เวลาจะเดินช้าลงอย่างมากเช่นกัน นักฟิสิกส์ทั้งหลายต่างเห็นด้วยกับแนวคิดนี้
แต่การเดินทางข้ามเวลาอีกอย่างหนึ่งคือที่ยังมีการถกเถียงกันและยังหาข้อสรุปไม่ได้คือการเดินทางกลับสู่อดีต หลายคนไม่เชื่อว่าการเดินทางข้ามเวลาสู่อดีตจะเป็นไปได้ การนำเสนอเรื่องนี้ขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์จากทฤษฎีรูหนอน อาจเป็นกุญแจที่สามารถไขไปสู่คำตอบของการเดินทางกลับสู่อดีตได้ ซึ่งไอสไตน์ได้อธิบายไว้แล้ว
รูหนอนคือสะพานจากจุดหนึ่งในอวกาศไปสู่อีกจุดหนึ่ง มันเหมือนกับอุโมงค์ทางลัดให้คุณเดินทางจากที่นี่ไปสู่อีกที่ ซึ่งไอสไตล์ได้ค้นพบเรื่องนี้ในปี 1935 ถ้าคุณทำการเปิดรูหนอนได้อย่างเหมาะสม เช่นตำแหน่งที่อยู่ใกล้กับหลุมดำ และใช้การเดินทางด้วยความเร็วสูง เวลาของอุโมงค์ที่เปิดขึ้นทั้ง2 ด้านจะแตกต่างกัน ดังนั้นคุณจะไม่เพียงแต่เดินทางจากที่หนึ่งไปสู่ที่หนึ่งในอวกาศด้วยรูหนอนนี้ แต่คุณจะไปจากช่วงเวลาหนึ่งไปสู่อีกช่วงเวลาหนึ่งที่ต่างกันอีกด้วย โดยที่การเดินทางจากด้านหนึ่งจะกลับไปสู่อดีต และอีกด้านจะไปสู่อนาคต
ถึงอย่างไรเรายังไม่รู้ว่าทฤษฎีรูหนอนจะเป็นจริงหรือไม่ หรือเราจะเดินทางผ่านมันไปได้ไหม นักฟิสิกส์หลายคนยังไม่เชื่อว่าเราจะสามารถเดินทางผ่านรูหนอนเพื่อย้อนกลับไปยังอดีตได้ แต่เรื่องนี้คงยังไม่สามารถสรุปอย่างจริงจังได้ว่า “เป็นไปไม่ได้”  

Comments